ระเบียบวาระที่  ๔     เรื่องเสนอเพื่อทราบ
                          ๔.๓ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบายด้านการศึกษาของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่  ๑๐  ประจำเดือนสิงหาคม  ๒๕๖๔
 
สรุปเรื่อง  
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาท้องถิ่น
                   ๑. โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  ขอสรุปงบประมาณในการดำเนินการโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก  ในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว  จำนวน ๙ ตำบล  มีการเบิกจ่ายงบประมาณ  คิดเป็นร้อยละ ๘๓.๙๘  ของงบประมาณที่ได้รับ 
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่น เพื่อช่วยเหลือประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบในห้วงสถานการณ์โควิด ๑๙ (COVID-Bag)  จำนวน ๙ พื้นที่ ในเขตจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว  จำนวน ๑๕๐ ชุด  ที่แพร่ระบาดทั่วประเทศไทย  โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้วที่เป็นพื้นที่สีแดง  เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบในการยังชีพในพื้นที่เป้าหมายให้ได้รับการดูแลและบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะการระบาดโรคโควิด ๑๙  นอกจากนี้สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการยังดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในห้วงสถานการณ์โควิด ๑๙ (COVID Box) จำนวน ๙ พื้นที่ ในเขตจังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว  จำนวน ๑๓๕ ชุด  เพื่อดำเนินกิจกรรมเชิงรุก เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิดในพื้นที่เป้าหมายให้ได้รับการดูแลและบรรเทาอาการป่วยจากโรคโควิด ๑๙ 
และให้องค์ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด ๑๙  การรักษาตัวในช่วงระยะเวลา ๑๔ วัน ของการกักตัว  และการปฏิบัติตนหลังจากหายป่วยจากโรคโควิด ๑๙
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  ได้ให้ผู้จัดการพื้นที่ดำเนินการจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก  จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔  โดยการดำเนินงานจัดส่ง เรื่องเล่าความสำเร็จในการดำเนินงาน
                        สำนักส่งเสริมการเรียนรู้และบริการวิชาการ  จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน โครงการยกระดับพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อร่วมศึกษาแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น เสริมพลังให้ชุมชนท้องถิ่นสามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืนจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ
                    
                    ๒. โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (๑ ตำบล ๑ มหาวิทยาลัย) (University System Integration : USI)
                         มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดประชุมผู้จัดการพื้นที่ (AM-TSI)  เข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T  เพื่อรายงานความก้าวหน้าและติดตามการดำเนินงานโครงการดังกล่าว  ในวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๖๔  เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.  ในรูปแบบออนไลน์
                         มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ (USI) เพื่อเข้าร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินโครงการ  ในรอบ ๖ เดือน  ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๔  เวลา ๑๓.๐๐ น.  ในรูปแบบออนไลน์
 
                    ๓. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น
                        รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานยุทธศาสตร์  ปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๖๔  เดือนตุลาคม  พ.ศ. ๒๕๖๓  ถึงเดือนกันยายน  พ.ศ. ๒๕๖๔
                         มีตัวชี้วัดเป้าหมายโครงการ  ๑.ผลิตภัณฑ์ได้รับการพัฒนาร่วมกับผู้ประกอบการ  ๒.คู่มือที่เกิดจากการพัฒนาองค์ความรู้ของผู้ประกอบการ  ๓.ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนา   ๔.จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์
                         ตัวชี้วัดผลลัพธ์  ๑.ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนา
                         รายงานการเบิกจ่ายโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น  งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท  การเบิกจ่ายไตรมาสที่  ๑ (ต.ค. – ธ.ค.)  งบประมาณที่ใช้  ๘,๘๐๐ บาท  คิดเป็นร้อยละ  ๐.๔๔ การเบิกจ่ายไตรมาสที่  ๒ (ม.ค. – มี.ค.)  งบประมาณที่ใช้  ๕๒,๑๖๘ บาท  คิดเป็นร้อยละ ๒.๖๑  การเบิกจ่ายไตรมาสที่ ๓ (เม.ย. – มิ.ย.)  งบประมาณที่ใช้  ๗๗๒,๖๗๐ บาท  คิดเป็นร้อยละ  ๓๘.๖๓  การเบิกจ่ายไตรมาสที่ ๔ (ก.ค. – ก.ย.)  งบประมาณที่ใช้  ๗๖๗,๑๒๒.๐๓ บาท  คิดเป็นร้อยละ  ๓๘.๓๖  งบประมาณที่ใช้ไปทั้งสิ้น  ๑,๖๐๐,๗๖๐.๐๓ บาท  คิดเป็นร้อยละ  ๘๐.๐๔  งบประมาณคงเหลือ  ๓๙๙,๒๓๙,๙๗  คิดเป็นร้อยละ  ๑๙.๐๖
                        
                    ๔. โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลตำบล
                            
                     ๕โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่าย การวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ระดับตำบล
                                                                           
                    ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การผลิตและพัฒนาครู
                    ๖. โครงการยกระดับการเรียนรู้ ด้านการอ่าน การเขียน และการวิเคราะห์ของนักเรียนในระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                        ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ได้รับงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ ได้แก่พื้นที่จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว นั้น ในการนี้มหาวิทยาลัย สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดทำโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายและแก้ปัญหาด้านการศึกษาของนักเรียนในเขตพื้นที่เป้าหมายจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ นั้น สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน  ขอรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำเดือนสิงหาคม  ๒๕๖๔  ดังนี้
                       โรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาในจังหวัดเชียงใหม่
                        - รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา ผู้จัดการพื้นที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยพล  ใจสูงเนิน
                        - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ โรงเรียนวัดสุขบุญฑริการาม ผู้จัดการพื้นที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิติกร  อ่อนโยน
                        - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ โรงเรียนวัดหว่านบุญ ผู้จัดการพื้นที่ อาจารย์มณฑา  วิริยางกูร
                        - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ โรงเรียนวัดสอนดีศรีเจริญ ผู้จัดการพื้นที่ อาจารย์วิษณุ  สุทธิวรรณ
                        - รางวัลนวัตกรรมในดวงใจ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา ผู้จัดการพื้นที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยพล  ใจสูงเนิน
                       โรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาในจังหวัดสระแก้ว
                       - รางวัลชนะเลิศ โรงเรียนวัฒนานคร ผู้จัดการพื้นที่ นายวุฒินันท์  โชคอำนวย
                        - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ โรงเรียนบ้านคลองเจริญ ผู้จัดการพื้นที่ นางปาจรีย์  รูปคม
                        - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ โรงเรียนบ้านวังบูรพา ผู้จัดการพื้นที่ นางจีรพรรณ์  หน่อแก้ว
                        - รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๓ โรงเรียนกองทัพบกอุทิศ บ้านหนองไผ่ ผู้จัดการพื้นที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชรินทร์  เศรษฐีชัยชนะ
                        - รางวัลนวัตกรรมในดวงใจ โรงเรียนวัฒนานคร ผู้จัดการพื้นที่ นายวุฒินันท์  โชคอำนวย
                        ในการดำเนินการต่อไปนั้น มหาวิทยาลัยกำหนดให้ผู้จัดการพื้นที่ และโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาร่วมกันจัดทำวิดีโอถอดบทเรียน : Active Learning และผลการใช้ Teacher Tool Kits (TTK) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายร่วมพัฒนาในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔  
                        สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จึงขอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสระแก้ว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยเพื่อทรา
            
                    ๗. โรงเรียนสาธิตเป็นศูนย์ต้นแบบ และศูนย์ปฏิบัติการเรียนรู้
                         
                    ๘. โครงการสนับสนุนสื่อวีดิทัศน์ ประกอบการเรียนการสอนเพื่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็ก
                                                                    
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การยกระดับคุณภาพการศึกษา
                    . โครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาครูในศตวรรษที่ ๒๑
 
                     ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาระบบบริหารจัดการ
                    ๑๐. โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ (EdPEx)
        
                    ๑๑. โครงการ VRU Mindset
 
                    ๑๒. โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลมหาวิทยาลัยราชภัฏ                 
                         
กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวขัอง
    -
 
ประเด็นเสนอเพื่อทราบ
 
 
มติคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................
    ...............................................................................................................................................................