รายงานผลการดำเนินงานการจัดการความรู้ในรอบปีงบประมาณ ๒๕๖๔ จากการดำเนินงานที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าตั้งแต่กลางปีงบประมาณ ๒๕๖๓ จนถึงปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ได้มีการดำเนินงาน ในเรื่องของการจัดการความรู้มาโดยตลอด เริ่มต้นการศึกษาบริบทองค์กรในการออกแบบโมเดลในการทำงาน VRU KM Strategy ใน ๔ ขั้นตอน คือ แลกเปลี่ยน เขียนออกมา ยกระดับ นำไปใช้ จากนั้นนำไปสู่การจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ในแต่ละปี ซึ่งในระหว่างการดำเนินงานได้มีการบูรณาการการจัดการความรู้ (KM) เข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาทั่วไป คือ ชุมชนนักปฏิบัติ : แนวทางการจัดการความรู้ ในรายวิชาศึกษาทั่วไปที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ ABCD ของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ รวมถึงการจัดโครงการศึกษาดูงาน ด้านการจัดการความรู้ (KM) องค์กรชั้นนำธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ ได้รับรางวัล TQA ซึ่งความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงาน นำมาปรับกระบวนการทำงานและพัฒนาระบบ เช่น การพัฒนา VRU KM WEB PORTAL และช่องทางการสื่อสารผ่าน SOCIAL MEDIA อีก ๑ ช่องทาง คือ Facebook VRU KM นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (VRU KM DAY ๒๐๒๑) ซึ่งคณะและส่วนงานต่าง ๆ ได้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งหมด ๑๖ ผลงาน และมอบรางวัล จากผลการดำเนินงานทั้งหมดที่ผ่านมาในปีการศึกษา ๒๕๖๓ (งบประมาณ ๒๕๖๔) พิจารณาจากตัวชี้วัดจากการตรวจประเมิน EdPEx ปีการศึกษา ๒๕๖๓ พบว่า VRU KM Strategy ใน ๔ ขั้นตอน เป็นจุดแข็งที่ใช้ ในการขับเคลื่อนระบบการจัดการความรู้ (KM) ของมหาวิทยาลัยร่วมกับเครื่องมือคุณภาพต่าง ๆ โดยการใช้สมรรถนะหลัก คือ VALAYA ในการขับเคลื่อนการจัดการความรู้ ซึ่งส่งผลให้กับตัวชี้วัดต่าง ๆ เพิ่มขึ้น เช่น จำนวนเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติ, จำนวนองค์ความรู้ใหม่ของชุมชนนักปฏิบัติต่อเรื่องต่อปี, ระดับความสำเร็จขององค์กรของการเรียนรู้, ตัวชี้วัดในเรื่องของจำนวนองค์กรภายนอกที่เข้ามาเรียนรู้และศึกษาดูงานในด้านต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นต้น
แผนการดำเนินงานและโครงการสำคัญปี ๖๕
มติที่ประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ได้อนุมัติหลักการในการดำเนินงานและโครงการสำคัญปี ๒๕๖๕ ภายใต้การบริหารจัดการของงานพัฒนาอาจารย์ ฯ ดังต่อไปนี้
๑. แผนการดำเนินงานเพื่อขอรับรอง ISO ๓๐๔๐๑ ภายใน ๒ ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๕ มีแผนการดำเนินงาน ๓ กิจกรรม คือ
โครงการที่ ๑ การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลันเชียงใหม่ที่ผ่านการรับรองรองเป็นแห่งแรก
โครงการที่ ๒ จัดการฝึกอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดการขอรับรองมาตรฐาน ISO ๓๐๔๐๑
โครงการที่ ๓ จัดฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการ คณะกรรมการประเมินระดับความสำเร็จ ของการจัดการความรู้ เพื่อประเมินระดับ Maturity เพื่อปิด GAP ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ โครงการเตรียมความพร้อมเพื่อขอการรับรอง ISO ๓๐๔๐๑ และงบประมาณสำหรับการเตรียมความพร้อม ปีงบประมาณ ๒๕๖๗ โครงการยื่นขอการรับรองมาตรฐาน ISO ๓๐๔๐๑ และงบประมาณสำหรับการตรวจประเมิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานและศักยภาพในการยื่นขอรับรอง หากสามารถดำเนินการก่อน ๒ ปี ก็ให้ดำเนินการตามเหมาะสมและงบประมาณ
๒. โครงการพัฒนากระบวนการทำงานเพื่อสร้างนวัตกรรม เพื่อยกระดับกระบวนการทำงาน ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัย วิสัยทัศน์ของการจัดการความรู้ในระยะ ๕ ปี (๒๕๖๔ - ๒๕๖๙) “เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจและสังคมฐานรากที่ได้มาตรฐาน ISO ๓๐๔๐๑” กำหนดให้แต่ละคณะและส่วนงานจัดทำแผนปฏิบัติการการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๔ ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยและแผนแม่บทการจัดการความรู้ ดังนี้
๑. ระดับคณะ ให้จัดทำแผนปฏิบัติการ (KM) ภายใต้กรอบแผนแม่บทการจัดการความรู้ (KM) ปี ๒๕๖๔ (๑ ชุมชนนักปฏิบัติ ๑ หน่วยงานภาคีเครือข่ายพันธมิตร / ชุมชนท้องถิ่น / อื่นๆ) โดยการนำเอากระบวนการจัดการความรู้ (VRU KM Strategy) ไปช่วยในการยกระดับหรือสร้างนวัตกรรมร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร / ชุมชนท้องถิ่น / อื่น ๆ และกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งนวัตกรรม (Innovation)
๒. ระดับสายสนับสนุน เพื่อให้การเกิดการเรียนรู้ฝังลึกเข้าไปในการปฏิบัติงานประจำ
เพื่อสร้างนวัตกรรมที่สนับสนุนระบบงานหลัก (Work System) และกระบวนการสนับสนุน (Work Support)
๓. โครงการตรวจประเมินระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ (KM) จัดฝึกโครงการฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการคณะกรรมการประเมินระดับความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพื่อประเมินระดับ Maturity เพื่อปิด GAP ทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับคณะและหน่วยงานสนับสนุน โดยใช้Knowledge Management Assessment : (KMA) เป็นกรอบในการดำเนินงาน
๔. โครงการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนนรู้ 12 เรื่อง 12 เดือน เรื่องเล่าเร้าพลังเพื่อให้เกิด
การแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์ ภายในมหาวิทยาลัยจึงจัดให้มีโครงการกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนนรู้ ๑๒ เรื่อง ๑๒ เดือน เรื่องเล่าเร้าพลัง เป็นการเชิญคณะหน่วยงานต่า ๆ ที่ประสบความสำเร็จมาร่วมพูดคุยประเด็นต่าง ๆ เพื่อถอดบทเรียนร่วมกัน ภายใต้บรรยากาศที่ผ่อนคลายแบบไม่เป็นทางการ กำหนดพุธบ่าย เช่น อาจจะมีการเลี้ยงขนมหวานประเภทต่าง ๆ ในแต่ละเดือน เป็นต้น
๕. โครงการ VRU KM Day 2022 “พัฒนางานประจำสู่นวัตกรรม มหาวิทยาลัยแห่งความสมดุลและยั่งยืน” เพื่อเปิดโอกาสให้แต่ละคณะและหน่วยงานได้แสดงผลงานนวัตกรรมต่าง ๆ จึงกำหนดให้มีการจัดโครงการ VRU KM Day ๒๐๒๒ “ พัฒนางานประจำสู่นวัตกรรม มหาวิทยาลัยแห่งความสมดุลและยั่งยืน” เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ต่าง ๆ และมอบรางวัล
๖. โครงการจัดตั้ง คลินิก KM INNO เพื่อเป็นการช่วยเหลือให้คำปรึกษาในการทำ KM กับคณะและหน่วยงานต่าง ๆ หรือหน่วยงานภายนอกที่สนใจ ที่ประชุมจึงกำหนดให้จัดตั้งคลินิก KM INNO ในอนาคตหากมีความชำนาญในด้านนี้อาจจะสามารถสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยในอนาคตได้ หากท่านใดประสงค์ขอคำปรึกษาติดต่อได้ที่งานพัฒนาอาจารย์ ฯ เพื่อนัดวันหรือจองคิว
เอกสารเพิ่มเติม